รวมบริการทั้งหมด

เงินกู้สามัญเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

6.00 %ต่อปี
วัตถุประสงค์
  • เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากภาระหนี้สินภายนอกของสมาชิก
  • เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกมีหนี้กับสหกรณ์เพียงแห่งเดียว
คุณสมบัติของผู้กู้
  • ต้องเป็นสมาชิกและส่งเงินค่าหุ้นรายเดือนมามาแล้วไม่น้อยกว่า 60 เดือนติดต่อกัน
  • ต้องเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการเคหะแห่งชาติ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว และไม่เคยลาออกจากกองทุน หรือเคยลาออกจากกองทุนแล้วกลับเข้าเป็นสมาชิกกองทุนใหม่
หลักเกณฑ์การให้เงินกู้
  • สมาชิกที่มีภาระหนี้สินกับธนาคาร หรือ Non-Bank (Non-Bank หมายถึงผู้ให้บริการทางการเงิน ส่วนใหญ่เป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กำกับดูแล) ยกเว้นภาระหนี้สินเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
  • สมาชิกที่มีภาระหนี้สินตามคำสั่งศาล หรือปลดหนี้สินจากการถูกบังคับคดี
  • เพื่อชำระเงินกู้กองทุนสวัสดิการ การเคหะแห่งชาติ
  • เพื่อชำระเงินกู้ฉุกเฉิน หรือเงินกู้สามัญหมุนเวียน
วงเงินกู้และหลักประกัน
  • กู้ได้ในวงเงินที่เป็นหนี้จริง แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท รวมเงินกู้ทุกประเภทที่มีอยู่ก่อนแล้วไม่เกิน 3,000,000 บาท ยกเว้น เงินกู้พิเศษ
  • หลักประกันเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้แก่สมาชิกและดอกเบี้ย พ.ศ. 2557 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
  • การคำนวณวงเงินค้ำประกัน ให้นำหนี้เดิม บวกกับหนี้ใหม่ได้เท่าไหร่ต้องมีผู้ค้ำประกันตามระเบียบ ข้อ 20.2.1 (1) – (4)
เอกสารประกอบคำขอกู้
  • ใบแจ้งยอดบัญชี / รายการชำระเงินงวดประจำเดือน
  • หนังสือรับรองข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (บูโร)
การชำระหนี้เงินกู้
  • สมาชิกผู้กู้ส่งคืนเงินกู้ โดย (1) ส่งชำระแบบคงต้นพร้อมด้วยดอกเบี้ย (คงต้น) หรือ (2) ส่งคืนจำนวนเงินงวดเท่ากันทุกงวด (คงยอด)
  • ส่งชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันเกษียณอายุ แต่ไม่เกิน 180 งวด
  • ค่างวดที่หักรวมกับภาระหนี้สินอื่นแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 90 ของเงินเดือน
เงื่อนไขอื่น ๆ
  • สมาชิกจะเข้าร่วมโครงการเงินกู้สามัญเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต มิต้องนำประกาศฉบับที่ 5/2561 มาบังคับใช้
  • สมาชิกที่เคยเข้าร่วมโครงการแล้วและผ่อนชำระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 24 งวด สามารถกู้ใหม่ได้
  • เงื่อนไชอื่น ๆ เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้แก่สมาชิกและดอกเบี้ย พ.ศ. 2557 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ สส.ชสอ.

ลำดับรายการสรุปรวม (คน)สมาชิก (คน)สมาชิกสมทบ (คน)
สมาชิกต้นปี3473452
1เพิ่มระหว่างปี
- สมัครใหม่1111-
สมาชิกรวม3583562
2ลดระหว่างปี
- ลาออก55-
- ถึงแก่กรรม33-
สมาชิกคงเหลือ3503482
ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565

สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ สสอร.

ลำดับรายการสรุปรวม (คน)สมาชิก (คน)สมาชิกสมทบ (คน)
สมาชิกต้นปี7087035
1เพิ่มระหว่างปี
- สมัครใหม่55-
สมาชิกรวม7137085
2ลดระหว่างปี
- ลาออก1616-
- ถึงแก่กรรม55-
สมาชิกคงเหลือ6926875
ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้

อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่สมาชิก

ประเภท

ร้อยละ(ต่อปี)

หมายเหตุ

เงินให้กู้ฉุกเฉิน

6.00

เงินให้กู้สามัญ

6.00

เงินให้กู้สามัญหมุนเวียน

6.00

เงินให้กู้ค่าหุ้น

6.00

เงินให้กู้สามัญเกษียณพร้อมสุข

6.00

เงินให้กู้เพื่อการศึกษา

5.50

  ไม่มีเงินเฉลี่ยคืน

เงินกู้เพื่อการท่องเที่ยว

5.50

อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

อัตราดอกเบี้ยเงินรับฝาก

ประเภท

ร้อยละ (ต่อปี)

หมายเหตุ
ออมทรัพย์ 1.25  ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี
ออมทรัพย์พิเศษ 2.25
ออมทรัพย์พิเศษเกษียณสุข 3.60
เงินรับฝากประจำ
ระยะ 3 เดือน
ระยะ 6 เดือน
ระยะ 12 เดือน
ระยะ 38 เดือน(ปิดรับฝากแล้ว)
 2.50
2.75
3.00
3.80
หักภาษีร้อยละ 15ของดอกเบี้ยที่ได้รับ
เงินรับฝากประจำรายเดือน”อุดมทรัพย์” 3.00 ฝากครบตามเงื่อนไขไม่ต้องเสียภาษี

เงินกู้สามัญเกษียณพร้อมสุข

6.00 %ต่อปี

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากภาระหนี้สินของสมาชิก
  • ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกมีหนี้กับสหกรณ์ที่เดียว
  • เพื่อปลดเปลื้องหนี้สินหรือเพื่อใช้จ่ายในครอบครัว

คุณสมบัติของผู้กู้

  • ต้องเป็นสมาชิกและส่งเงินค่าหุ้นรายเดือนมาแล้วไม่น้อยกว่าหกสิบเดือนติดต่อกัน และยังมีอายุการทำงานคงเหลือไม่เกิน 60 เดือน
  • สมาชิกที่มีภาระหนี้สินกับธนาคาร หรือ Non-Bank (Non-Bank หมายถึงผู้ให้บริการทางการเงิน ส่วนใหญ่เป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กำกับดูแล) ยกเว้นภาระหนี้สินเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
  • สมาชิกที่มีภาระหนี้สินตามคำสั่งศาล หรือหนี้สินจากการถูกบังคับคดี
  • เพื่อชำระเงินกู้กองทุนสวัสดิการ การเคหะแห่งชาติ หรือเพื่อชำระเงินกู้ฉุกเฉิน หรือเงินกู้สามัญหมุนเวียน หรือค่าเบี้ยประกัน
  • เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการเคหะแห่งชาติ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว

วงเงินกู้และหลักประกัน

  • วงเงินกู้ได้ในวงเงินที่เป็นหนี้จริง แต่ไม่เกินสิบสองเท่าของเงินเดือน

เอกสารประกอบคำขอกู้

  • ใบแจ้งยอดบัญชี / รายการชำระเงินงวดประจำเดือน
  • หนังสือรับรองข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (บูโร)

การชำระหนี้เงินกู้

  • ผ่อนชำระไม่เกิน 60 งวด งวดหนึ่งเป็นเงินต้นไม่น้อยกว่า 1,000 บาท
  • เงินงวดชำระหนี้เงินกู้ รวมกับหนี้สินอื่น ๆ ไม่เกินร้อยละเก้าสิบของเงินได้รายเดือน ณ วันที่เกษียณอายุงาน สมาชิกจะมีหนี้คงเหลือได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน และค่าชดเชย

เงื่อนไข

  • สมาชิกผู้กู้จะต้องทำประกันชีวิตกลุ่มกับบริษัทประกันที่สหกรณ์จัดหาให้ โดยทุนประกันเท่ากับจำนวนเงินกู้ที่ได้รับ และมอบสหกรณ์เป็นผู้รับผลประโยชน์
  • เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามระเบียบว่าด้วย การให้เงินกู้แก่สมาชิกและดอกเบี้ยเงินกู้ 2557 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ

2.25 %ต่อปี
  • เปิดบัญชีครั้งแรกต้องไม่น้อยกว่า 100.- บาท
  • ฝาก – ถอน แต่ละครั้ง ต้องไม่น้อยกว่า 100.-บาท
  • เงินฝากคงเหลือในบัญชี ตั้งแต่ 100,000.- บาท
    สหกรณ์ฯ จะจ่ายดอกเบี้ยให้ทุกเดือน หากต่ำกว่า 100,000.- บาท ดอกเบี้ยจ่ายให้ปีละ 2 ครั้ง
    (30 มิ.ย. และ 31 ธ.ค.)
  • การถอนเงินต้น ได้เดือนละหนึ่งครั้ง หากถอนมากกว่าหนึ่งครั้ง จะคิดค่าธรรมเนียม ในอัตราร้อยละหนึ่ง ของจำนวนเงินที่ถอน ค่าธรรมเนียมไม่น้อยกว่า 300.- บาท ไม่เกิน 1,000. – บาท

เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ   ผู้ฝากรายหนึ่งอาจเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษได้โดยจำนวนเงินฝากในบัญชีนั้นในเวลาหนึ่งเวลาใดต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาท ฝากโดยหักจากเงินเดือนได้

การถอนเงินฝากออมทรัพย์พิเศษให้ถอนได้เดือนละหนึ่งครั้งโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมหากเดือนใดมีการถอนมากกว่าหนึ่งครั้ง  สหกรณ์จะคิดค่าธรรมเนียมการถอนครั้งที่สองและครั้งต่อๆไปในอัตราร้อยละหนึ่งของจำนวนเงินที่ถอนแต่ต้องไม่น้อยกว่าสามร้อยบาท  และอย่างมากไม่เกินหนึ่งพันบาท

สหกรณ์จะคำนวณดอกเบี้ยให้เป็นรายวันตามจำนวนต้นเงินฝากคงเหลือ ทั้งนี้จะต้องคงยอดเงินฝากถึงวันที่สหกรณ์จ่ายดอกเบี้ยและสหกรณ์จะนำดอกเบี้ยทบเป็นต้นเงินเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษให้ในวันที่ 30  มิถุนายน  และวันที่  31  ธันวาคม  ของทุนปี   ในกรณีที่จำนวนเงินฝากออมทรัพย์พิเศษคงเหลือตั้งแต่หนึ่งแสนบาท  สหกรณ์จะนำดอกเบี้ยทบเป็นต้นเงินเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษให้ในวันสิ้นเดือน  โดยสมาชิกขอถอนดอกเบี้ยที่ได้รับได้ในวันทำการถัดไป

เงินฝากออมทรัพย์

1.25 %ต่อปี
  • เปิดบัญชีครั้งแรกต้องไม่น้อยกว่า 100.- บาท
  • ดอกเบี้ยจ่ายให้ปีละ 2 ครั้ง (30 มิ.ย. และ 31 ธ.ค.)

เงินฝากออมทรัพย์   ผู้ฝากรายหนึ่งอาจเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์โดยจำนวนเงินฝากในบัญชีนั้นในเวลาหนึ่งเวลาใดต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาท และผู้ฝากจะฝากเงินเพิ่มขึ้นเมื่อใดโดยจำนวนเท่าใดก็ได้

สมาชิกฝากเงินได้หลายวิธี เช่น  ฝากเงินเป็นรายเดือน, เงินปันผล-เงินเฉลี่ยคืน,เงินสวัสดิการหรือเงินกู้สามัญที่ได้รับจากสหกรณ์

การถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ จะถอนเมื่อใด  จำนวนเท่าใดก็ได้แต่การถอนเงินฝากออมทรัพย์ผ่านธนาคารโดยใช้เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ  (ATM)   สมาชิกต้องทำความตกลงกับสหกรณ์ก่อน  และสหกรณ์ต้องนำรายการถอนเงินดังกล่าวที่ธนาคารออกให้เป็นหลักฐานการถอนเงินฝากออมทรัพย์ลงรายการในสมุดคู่ฝากสำหรับสมาชิกรายนั้นๆ

การถอนเงินฝากออมทรัพย์ผ่านธนาคารโดยใช้เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM)  อนุญาตให้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น

สหกรณ์จะคำนวณจ่ายดอกเบี้ยทบต้นทุกวันที่ 30 มิถุนายน และวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี โดยสมาชิกขอถอนดอกเบี้ยที่ได้รับได้ในวันทำการถัดไป

เงินฝากประจำ

2.50 - 3.00 %ต่อปี

ฝากประจำ 3 เดือน 2.50%

ฝากประจำ 6 เดือน 2.75%

ฝากประจำ 12 เดือน 3.00%

  • เปิดบัญชีครั้งแรกต้องไม่น้อยกว่า 500.- บาท และระยะเวลาฝากต้องไม่น้อยกว่า 3 เดือน
  • ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ จะคำนวณและจ่ายเมื่อถึงกำหนดระยะเวลา
  • ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ
  • กรณีถอนก่อนกำหนด สหกรณ์ฯ จะจ่ายดอกเบี้ยให้ตามจำนวนเดือนเต็ม แต่ถ้าระยะเวลาฝากไม่ถึง 3 เดือน สหกรณ์ฯ จะไม่จ่ายดอกเบี้ย

เงินฝากประจำ   ผู้ฝากรายหนึ่งอาจเปิดบัญชีเงินฝากประจำในสหกรณ์นี้ได้โดยจำนวนเงินฝากในบัญชีนั้นในเวลาหนึ่งเวลาใดต้องไม่น้อยกว่าห้าร้อยบาท  และระยะเวลาฝากต้องไม่น้อยกว่าสามเดือน

ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ   สหกรณ์จะคำนวณและจ่ายดอกเบี้ยให้เมื่อถึงกำหนดระยะเวลาการฝาก

สำหรับเงินฝากที่ถอนก่อนกำหนดสหกรณ์จะจ่ายดอกเบี้ยให้ตามจำนวนเดือนเต็ม

กรณีถอนเงินฝากประจำในระยะเวลาไม่ถึงสามเดือน สหกรณ์จะไม่จ่ายดอกเบี้ยให้

ถ้าผู้ฝากไม่ถอนเงินฝากประจำ  เมื่อครบกำหนดพร้อมดอกเบี้ยจะพ้นกำหนดไปอีกเจ็ดวัน

ก็เป็นอันถือว่าผู้ฝากตกลงฝากต้นเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยต่อไปอีกเท่าระยะเวลาเดิม

เงินตอบแทนสมาชิกเกษียณ และเงินช่วยเหลือเกษียณสุข

เงินตอบแทนสมาชิกเกษียณอายุ หมายถึง เงินที่สหกรณ์จ่ายให้แก่สมาชิกผู้เกษียณอายุจากการทำงาน หรือเมื่อสมาชิกมีอายุครบ  60  ปีบริบูรณ์  การจ่ายเงินตอบแทนจะคำนวณจ่ายเงินตามระยะเวลาการเป็นสมาชิกจำนวนปีคูณด้วย 600.-  บาท  จำนวนเงินที่จ่ายตอบแทนนี้แต่ละรายต้องไม่น้อยกว่า 1,800.- บาท

เงินช่วยเหลือเกษียณสุข หมายถึง เงินที่สหกรณ์จ่ายให้แก่สมาชิกที่คงสภาพการเป็นสมาชิกอยู่จนอายุครบ

65 ปี , 70 ปี , 75 ปี , 80 ปี , 85 ปี , 90 ปี , 95 ปี  และ 100  ปี การจ่ายเงินช่วยเหลือต้องเป็นสมาชิกติดต่อกันครบ 10 ปี ดังนี้

  • อายุครบ  65  ปีบริบูรณ์   ให้ได้รับเงิน  4,000.-  บาท
  • อายุครบ  70  ปีบริบูรณ์   ให้ได้รับเงิน  5,000.-  บาท
  • อายุครบ  75  ปีบริบูรณ์    ให้ได้รับเงิน 6,000.-  บาท
  • อายุครบ  80  ปีบริบูรณ์   ให้ได้รับเงิน  7,000.-  บาท
  • อายุครบ  85  ปีบริบูรณ์   ให้ได้รับเงิน  8,000.-  บาท
  • อายุครบ  90  ปีบริบูรณ์   ให้ได้รับเงิน  12,000.-  บาท
  • อายุครบ  95  ปีบริบูรณ์   ให้ได้รับเงิน  15,000.-  บาท
  • อายุครบ 100 ปีบริบูรณ์   ให้ได้รับเงิน 20,000.- บาท

เมื่อสมาชิกมีอายุครบตามข้างต้น สหกรณ์จะโอนเงินเข้าฝากบัญชีธนาคารกรุงไทย หรือบัญชีเงินฝากสหกรณ์ตามที่สมาชิกแจ้งความประสงค์ไว้ต่อสหกรณ์เท่านั้น

เงินกู้สามัญ

6.00 %ต่อปี

การให้เงินกู้แก่สมาชิกนั้น   จะให้ได้กรณีเพื่อการอันจำเป็นหรือมีประโยชน์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควร
แต่จะให้เงินกู้เพื่อการสุรุ่ยสุร่ายหรือการเก็งกำไรไม่ได้

วัตถุประสงค์

เพื่อการอันจำเป็นหรือมีประโยชน์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควร  แต่จะให้เงินกู้เพื่อการสุรุ่ยสุร่ายหรือการเก็งกำไรไม่ได้

คุณสมบัติของผู้กู้

  1. สมาชิกที่มีสิทธิกู้เงินสามัญต้องส่งค่าหุ้นรายเดือนมาไม่น้อยกว่า 6 เดือนติดต่อกัน
  2. การให้เงินกู้แก่สมาชิกที่ออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพการเคหะแห่งชาติ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว และยังคงเป็นพนักงานการเคหะแห่งชาติ จะให้กู้ได้ภายในจำนวนไม่เกินร้อยละเก้าสิบของค่าหุ้นที่ตนถืออยู่ หรือกู้เงินพิเศษโดยมีอสังหาริมทรัพย์ของตนเองหรือคู่สมรสหรือบุตร อันปลอดจำนองภาระผูกพันรายอื่นเป็นประกันเงินกู้ก็ได้

วงเงินกู้

  • การกู้เงินค่าหุ้นหรือเงินฝากของตนเองจะกู้ได้ภายในจำนวนไม่เกินร้อยละเก้าสิบ
  • วงเงินกู้สามัญสูงสุดไม่เกิน  3,000,000  บาท  หรือ 60 เท่าของเงินได้รายเดือนของสมาชิกนั้น  สุดแต่จำนวนไหนน้อยกว่า
    โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
อายุสมาชิก  วงเงินกู้ (บาท) จำนวนเท่า สัดส่วนการถือหุ้น ผ่อนชำระ
(เดือน) ของเงินเดือน ต่อเงินกู้ (%) (เดือน)
ตั้งแต่ 6-12         180,000.00 15 10 80
13-24         250,000.00 20 12 108
25-48         400,000.00 30 15 144
49-72         600,000.00 40 20 162
73-96       1,200,000.00 50 25 172
97-120       2,000,000.00 60 27 180
120 ขึ้นไป       3,000,000.00 60 30 180


การส่งเงินงวดชำระหนี้
 หมายเหตุ วงเงินกู้สามัญตามตารางนี้ถือใช้กับเงินกู้สามัญทั่วไปเท่านั้น ในกรณีสมาชิกผู้กู้เงินสามัญหรือกู้เงินพิเศษ มีความประสงค์
ขอขยายระยะเวลาชำระหนี้ออกไป สามารถขยายเวลาการส่งเงินงวดชำระหนี้หลังจากเกษียณได้อีกไม่เกิน 72 งวด ทั้งนี้ สามารถขยายเวลาได้เพียงเงินกู้ประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น

  • สมาชิกต้องชำระให้เสร็จสิ้นไม่เกิน 180 งวด สมาชิกผู้กู้อาจขอชำระหนี้แบบใดแบบหนึ่ง คือ

(1) ส่งต้นเงินกู้สามัญเท่ากันทุกงวดและดอกเบี้ยคิดจากต้นเงินแห่งหนี้คงเหลือแต่ละงวด

(2) ส่งคืนจำนวนเงินเท่ากันทุกงวดโดยจะหักเงินส่วนหนึ่งเป็นดอกเบี้ยก่อนส่วนที่เหลือจึงนำไปหักต้นเงิน

  • การส่งเงินงวดชำระหนี้เงินกู้งวดหนึ่งหากรวมกันกับหนี้สินอื่นๆ  ที่ผู้กู้จะต้องผ่อนชำระโดยวิธีหักเงินได้รายเดือนแล้วต้องไม่เกิน
    ร้อยละ 90  ของเงินได้รายเดือน

หลักประกัน

  • ทุนเรือนหุ้นหรือบัญชีเงินฝากไม่เกินร้อยละ 90
  • สมาชิกเป็นผู้ค้ำประกัน มีเงื่อนไขดังนี้
    • สมาชิกผู้กู้เงินกู้สามัญจำนวนไม่เกินกว่า 120,000 บาท  ต้องมีผู้ค้ำประกันอย่างน้อย 1 คน
    • สมาชิกผู้กู้เงินกู้สามัญจำนวนเกินกว่า 120,000 บาท  ต้องมีผู้ค้ำประกันอย่างน้อย 2 คน
    • สมาชิกผู้กู้เงินกู้สามัญจำนวนเกินกว่า 400,000 บาท ต้องมีผู้ค้ำประกันอย่างน้อย 3 คน
    • สมาชิกผู้กู้เงินกู้สามัญจำนวนเกินกว่า 2,000,000 บาท ต้องมีผู้ค้ำประกันอย่างน้อย 4 คน
    • สมาชิกที่มีสิทธิค้ำประกันต้องส่งค่าหุ้นรายเดือนมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนติดต่อกัน และมิได้เป็นคู่สมรสของผู้กู้ ผู้ค้ำประกันคนหนึ่งจะเป็นผู้ค้ำประกันสำหรับผู้กู้มากกว่า 4 คนในเวลาเดียวกันไม่ได้

เงินกู้พิเศษ ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน

6.00 %ต่อปี

คุณสมบัติของผู้กู้ สมาชิกที่มีสิทธิกู้เงินกู้พิเศษต้องส่งค่าหุ้นรายเดือนมาแล้วไม่น้อยกว่าสามเดือนติดต่อกัน

วัตถุประสงค์    เงินกู้พิเศษเพื่อการเคหะสงเคราะห์,เพื่อยานพาหนะ,เพื่อการลงทุนประกอบอาชีพ

วงเงินกู้/การผ่อนชำระ ไม่เกิน 5,000,000 บาท ผ่อนชำระได้ไม่เกิน 300 งวด

หลักประกัน

  • อสังหาริมทรัพย์อันปลอดภาระผูกพันรายอื่นจำนองเป็นประกัน โดยจำนวนเงินกู้ไม่เกินราคาประเมินตามทรัพย์ที่นำมาเป็นประกัน คือ
    (1)  ที่ดินและบ้าน ร้อยละ 85 ของราคาประเมิน
    (2) ที่ดิน ร้อยละ 75 ของราคาประเมิน
    (3) อาคารชุดร้อยละ 70  ยกเว้น อาคารชุดของการเคหะแห่งชาติร้อยละ 80  ของราคาประเมิน
  • หลักทรัพย์รัฐบาล หรือบัญชีเงินฝากกับสหกรณ์หรือทุนเรือน จำนวนเงินกู้ต้องอยู่ภายในร้อยละ 90  แห่งมูลค่าของหลักทรัพย์
  • สมาชิกขอกู้เงินครั้งใหม่ไม่เกินวงเงินกู้เดิม โดยใช้อสังหาริมทรัพย์เดิมจำนองเป็นประกันเงินกู้ก็ให้ใช้ราคาประเมินตามที่บริษัทประเมินราคาไว้ก็ไม่ต้องประเมินราคาใหม่แต่ต้องไม่เกินสี่ปี

เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน

6.00 %ต่อปี

คุณสมบัติของผู้กู้ สมาชิกที่มีสิทธิกู้เงินฉุกเฉินต้องส่งค่าหุ้นรายเดือนมาไม่น้อยกว่า 3 เดือนติดต่อกัน

วงเงินกู้/การผ่อนชำระหนี้ สมาชิกผู้กู้คนหนึ่งๆ ให้มีจำนวนไม่เกิน 120,000 บาท หรือสองเท่าของเงินได้รายเดือนของสมาชิกนั้นสุดแต่จำนวนไหนน้อยกว่า ผ่อนชำระหนี้ได้ไม่เกิน 12 งวด การชำระงวดหนึ่งรวมกับภาระอื่น ๆ แล้วต้องไม่เกินร้อยละ 90 ของเงินเดือน

เงินฝากออมทรัพย์พิเศษเกษียณสุข

3.15 %ต่อปี

 

สมาชิกประสงค์จะเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษเกษียณสุข   ต้องยื่นหนังสือขอเปิดบัญชีดำเนินการให้เสร็จในเดือนตุลาคมของแต่ละปี  หรือตามที่คณะกรรมการดำเนินการจะได้กำหนดเป็นคราว ๆ ไป โดยชื่อผู้ฝากกับชื่อผู้มีอำนาจถอน  หรือผู้มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยเงินฝากต้องเป็นบุคคลเดียวกัน สหกรณ์จะจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์พิเศษเกษียณสุข ตามอัตราที่คณะกรรมการดำเนินงานสหกรณ์กำหนดโดยออกประกาศเป็นคราว ๆ   แต่ทั้งนี้จะไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่นายทะเบียนสหกรณ์ให้ความเห็นชอบที่สหกรณ์พึงจะจ่ายได้

การจ่ายดอกเบี้ยสหกรณ์จะคิดให้เป็นรายวันตามจำนวนเงินต้นคงเหลือและสหกรณ์จะคิดดอกเบี้ยจ่ายสมาชิกผู้ฝากเงินทุกวันที่ 31  มีนาคม, 30 มิถุนายน, 30  กันยายน และ 31 ธันวาคม ของทุกปี โดยจะโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของสมาชิก โดยสมาชิกขอถอนดอกเบี้ยที่ได้รับได้ในวันทำการถัดไป

การถอนเงินฝากสมาชิกสามารถถอนเงินได้เมื่อทวงถาม  การถอนเงินฝากออมทรัพย์พิเศษเกษียณสุขให้ถอนได้เดือนละหนึ่งครั้ง   โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม   หากเดือนใดมีการถอนเงินมากกว่าหนึ่งครั้งสหกรณ์จะคิดค่าธรรมเนียมการถอนเงินครั้งที่สองและครั้งต่อ ๆ    ไปในอัตราร้อยละหนึ่งของจำนวนเงินที่ถอนแต่ต้องไม่ต่ำกว่าห้าร้อยบาท

* ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

เงินฝากรายเดือนปลอดภาษี “อุดมทรัพย์”

3.00 %ต่อปี
  • อัตราดอกเบี้ย ประกาศเป็นคราว ๆ ไป
  • ฝากรายเดือนเริ่มต้น 1,000 – 25,000 บาท เท่ากันทุกเดือน 24 เดือน

สมาชิกขอเปิดบัญชีครั้งแรกต้องไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท   สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท โดยต้องฝากติดต่อกันทุกเดือน ๆ ละเท่าๆ กัน  และเท่ากับที่เปิดบัญชีครั้งแรกเป็นระยะเวลา 24 เดือน   และรวมทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน  600,000  บาท  จึงจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากรายเดือนปลอดภาษี “อุดมทรัพย์”

ในการฝากเงินเข้าบัญชีเงินฝากรายเดือนปลอดภาษี   “อุดมทรัพย์” สามารถนำฝากได้ ดังนี้

  1. ฝากด้วยตนเอง
  2. สมาชิกทำหนังสือยินยอมให้สหกรณ์หักเงินจากบัญชีเงินเดือนของสมาชิกในวันที่การเคหะแห่งชาติได้จ่ายเงินเดือนทุกเดือน

กรณีสมาชิกไม่สามารถฝากเงินดังกล่าวนี้ได้ในเดือนใด  ต้องนำฝากในเดือนถัดไปทันทีรวม  2  เดือน

สหกรณ์จะคิดดอกเบี้ยเงินฝากรายเดือนปลอดภาษี  โดยจะคิดดอกเบี้ยให้ทุกยอดเงินฝากที่ฝากถึงวันครบกำหนด (24 เดือน)   เมื่อครบกำหนดสหกรณ์จะคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยให้กับสมาชิก และปิดบัญชีเงินฝากรายเดือนปลอดภาษี   แล้วโอนเงินฝากดังกล่าวเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของสมาชิก

กรณีที่สมาชิกผู้ฝากมีเหตุไม่สามารถปฏิบัติได้ตามเงื่อนไข  หรือฝากต่อไปไม่ได้   สหกรณ์จะคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราเงินฝากออมทรัพย์  ณ  วันที่ผิดเงื่อนไข   รวมทั้งปิดบัญชีและนำเงินฝากดังกล่าวเข้าบัญชีออมทรัพย์ของสมาชิก

สวัสดิการรักษาพยาบาล

เพื่อเป็นสวัสดิการรักษาพยาบาลเจ็บป่วยกรณีเข้ารับรักษาตัวเป็นคนไข้ในสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลของกรุงเทพมหานคร หรือสถานพยาบาลอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนด หรือสถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินยี่สิบห้าเตียง

การเบิกรับเงินค่ารักษาเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นคนไข้ในไม่น้อยกว่า 1 คืน ในอัตราคืนละ 300 บาท ครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,500 บาท  ในหนึ่งปีทางบัญชีเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม สามารถเบิกได้ไม่เกิน 3 ครั้ง

ขอรับเงินภายในกำหนด   120  วัน  นับตั้งแต่วันที่ออกจากสถานพยาบาล หากพ้นกำหนดให้ถือว่าสละสิทธิ์ในการขอรับเงินสวัสดิการรักษาพยาบาลครั้งดังกล่าว

เอกสาร

  1. แบบคำขอรับเงินสวัสดิการ
  2. สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรพนักงานการเคหะแห่งชาติ
  3. สำเนาใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล โดยขอให้นำใบเสร็จฉบับจริงมาแสดงด้วย
  4. หนังสือรับรองเป็นคนไข้ในจากสถานพยาบาล

ทุนส่งเสริมเพื่อการศึกษา

 

ทุนส่งเสริมเพื่อการศึกษา สหกรณ์สนับสนุนเงินทุนเพื่อส่งเสริมการศึกษาให้กับกองทุนสวัสดิการ การเคหะแห่งชาติ เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่บุตรของพนักงานการเคหะแห่งชาติ

เงินช่วยเหลือสมาชิกเนื่องจากเสียชีวิต

การนับอายุการเป็นสมาชิกเพื่อรับเงินต้องเป็นสมาชิกติดต่อกันเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป ให้นับเป็น 1 ปี

เงินสงเคราะห์ที่ได้รับ

  • พวงหรีดเคารพศพ 800 บาท และค่าจัดการศพเบื้องต้น จำนวน 12,000 บาท
  • เงินช่วยเหลือตามระยะเวลาการเป็นสมาชิกตามจำนวนปีที่เป็นสมาชิก ปีละ 5,000 บาท แต่ไม่น้อยกว่า 12,000 บาท
  • กรณีประสบอุบัติเหตุ หลังจากเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 30 วัน ช่วยเหลือเพิ่ม จำนวน 100,000 บาท

เอกสารประกอบการขอรับเงิน ผู้รับผลประโยชน์ ยื่นขอรับเงินสงเคราะห์พร้อมหลักฐานภายใน  120 วัน นับแต่วันถึงแก่กรรม ดังนี้

สมาชิกผู้เสียชีวิต สำเนาใบมรณะบัตร/สำเนาบัตรประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้าน(ฉบับที่ส่วนราชการประทับตรา “ตาย”

ผู้รับผลประโยชน์ สำเนาบัตรประชาชน / บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ / สำเนาทะเบียนบ้าน / สำเนาใบสมรส / สำเนาใบเปลี่ยนชื่อสกุล

เงินช่วยเหลือบุคคลในครอบครัวถึงแก่กรรม

การนับอายุการเป็นสมาชิกเพื่อรับเงินต้องเป็นสมาชิกติดต่อกันเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป ให้นับเป็น 1 ปี

บุคคลในครอบครัว หมายถึง

  • บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของสมาชิก แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่นแล้ว
  • คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของสมาชิก
  • บิดา มารดาของสมาชิก

เงินสงเคราะห์ที่ได้รับ

  • ค่าจัดการศพเบื้องต้น จำนวน 5,000 บาท
  • เงินช่วยเหลือตามระยะเวลาการเป็นสมาชิกตามจำนวนปีที่เป็นสมาชิก ปีละ 700 บาท

เอกสารประกอบการขอรับเงิน สมาชิกยื่นขอรับเงินสงเคราะห์พร้อมหลักฐานภายใน 120 วัน นับแต่วันถึงแก่กรรม ดังนี้

ผู้เสียชีวิต สำเนาใบมรณะบัตร/สำเนาบัตรประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้าน(ฉบับที่ส่วนราชการประทับตรา “ตาย”

สมาชิก สำเนาบัตรประชาชน / บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ / สำเนาทะเบียนบ้าน / สำเนาใบสมรส / สำเนาใบเปลี่ยนชื่อสกุล

ทุนสงเคราะห์อันเกิดจากภัยพิบัติต่าง ๆ

  • จ่ายให้กับสมาชิกที่ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ *อัคคีภัย *อุทกภัย *วาตภัย
  • แสดงหลักฐาน เหตุผล รูปแบบ รายการให้ชัดเจน
  • นำเสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

 

 

เงินกู้สามัญหมุนเวียน

6.00 %ต่อปี

คุณสมบัติของผู้กู้ สมาชิกที่มีสิทธิเงินกู้สามัญหมุนเวียน ต้องส่งเงินค่าหุ้นรายเดือนมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือนติดต่อกัน

วงเงินกู้  เงินกู้สามัญหมุนเวียนที่ให้แก่สมาชิกผู้กู้คนหนึ่งๆ  นั้น  ให้มีจำนวนไม่เกิน 120,000 บาท หรือสองเท่าของเงินได้รายเดือนของสมาชิกนั้นสุดแต่จำนวนไหนน้อยกว่า

การเบิกเงินกู้ สมาชิกผู้กู้ขอรับเงินกู้วิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

  • การเบิกเงินกู้ผ่านช่องทางอีเล็กทรอนิกส์เครือข่ายตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย
  • รับเงินกู้ ณ  สำนักงานสหกรณ์

หลักประกัน สมาชิกผู้กู้มีเงินค่าหุ้นน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของวงเงินกู้จะต้องมีผู้ค้ำประกันอย่างน้อยหนึ่งคน

การส่งเงินงวดชำระหนี้

  • ส่งคืนเงินกู้เป็นงวดรายเดือนเท่ากันพร้อมดอกเบี้ยเป็นจำนวนไม่เกิน 24 งวด
  • การส่งเงินงวดชำระหนี้เงินกู้งวดหนึ่งหากรวมกันกับหนี้สินอื่นๆ  ที่ผู้กู้จะต้องผ่อนชำระโดยวิธีหักเงินได้รายเดือนแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 90  ของเงินได้รายเดือน

โอนเงินผ่านธนาคารพาณิชย์

ธนาคารสาขาเลขที่บัญชี
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)สาขา การเคหะแห่งชาติ095-1-00100-0
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)สาขา ลาดพร้าว011-1-12811-0
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)สาขา คลองจั่น156-0-23322-1
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)สาขา เดอะมอลล์ บางกะปิ449-1-13109-9
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)สาขา คลองจั่น040-2-41154-8
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)สาขา ลาดพร้าว 124024-2-23664-4
ธนาคารยูโอบี สาขา เดอะมอล์ลบางกะปิ764-1-69048-5
ธนาคารไทยเครดิตสาขา เดอะมอล์ลบางกะปิ007-2-05819-3
ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)สาขา คลองจั่น141-2-08701-8

หมายเหตุ

*เปิดให้บริการ ฝาก-ถอน ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ถึง 15.00 น. *
**ฝากเช็คหลังเวลา 12.00 น. ถือเป็นฝากในวันทำการถัดไป **

***อัตราดอกเบี้ยอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยจะประกาศให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป***