เงินกู้สามัญเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

วัตถุประสงค์

  • เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากภาระหนี้สินภายนอกของสมาชิก
  • เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกมีหนี้กับสหกรณ์เพียงแห่งเดียว

คุณสมบัติของผู้กู้

  • ต้องเป็นสมาชิกและส่งเงินค่าหุ้นรายเดือนมามาแล้วไม่น้อยกว่า 60 เดือนติดต่อกัน
  • ต้องเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการเคหะแห่งชาติ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว และไม่เคยลาออกจากกองทุน หรือเคยลาออกจากกองทุนแล้วกลับเข้าเป็นสมาชิกกองทุนใหม่

หลักเกณฑ์การให้เงินกู้

  • สมาชิกที่มีภาระหนี้สินกับธนาคาร หรือ Non-Bank (Non-Bank หมายถึงผู้ให้บริการทางการเงิน ส่วนใหญ่เป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กำกับดูแล) ยกเว้นภาระหนี้สินเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
  • สมาชิกที่มีภาระหนี้สินตามคำสั่งศาล หรือปลดหนี้สินจากการถูกบังคับคดี
  • เพื่อชำระเงินกู้กองทุนสวัสดิการ การเคหะแห่งชาติ
  • เพื่อชำระเงินกู้ฉุกเฉิน หรือเงินกู้สามัญหมุนเวียน

วงเงินกู้และหลักประกัน

  • กู้ได้ในวงเงินที่เป็นหนี้จริง แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท รวมเงินกู้ทุกประเภทที่มีอยู่ก่อนแล้วไม่เกิน 3,000,000 บาท ยกเว้น เงินกู้พิเศษ
  • หลักประกันเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้แก่สมาชิกและดอกเบี้ย พ.ศ. 2557 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
  • การคำนวณวงเงินค้ำประกัน ให้นำหนี้เดิม บวกกับหนี้ใหม่ได้เท่าไหร่ต้องมีผู้ค้ำประกันตามระเบียบ ข้อ 20.2.1 (1) – (4)

เอกสารประกอบคำขอกู้

  • ใบแจ้งยอดบัญชี / รายการชำระเงินงวดประจำเดือน
  • หนังสือรับรองข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (บูโร)

การชำระหนี้เงินกู้

  • สมาชิกผู้กู้ส่งคืนเงินกู้ โดย
    (1) ส่งชำระแบบคงต้นพร้อมด้วยดอกเบี้ย (คงต้น) หรือ
    (2) ส่งคืนจำนวนเงินงวดเท่ากันทุกงวด (คงยอด)
  • ส่งชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันเกษียณอายุ แต่ไม่เกิน 180 งวด
  • ค่างวดที่หักรวมกับภาระหนี้สินอื่นแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 90 ของเงินเดือน

เงื่อนไขอื่น ๆ

  • สมาชิกจะเข้าร่วมโครงการเงินกู้สามัญเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต มิต้องนำประกาศฉบับที่ 5/2561 มาบังคับใช้
  • สมาชิกที่เคยเข้าร่วมโครงการแล้วและผ่อนชำระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 24 งวด สามารถกู้ใหม่ได้
  • เงื่อนไชอื่น ๆ เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้แก่สมาชิกและดอกเบี้ย พ.ศ. 2557 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม