เงินกู้สามัญเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
6.00 %ต่อปี- เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากภาระหนี้สินภายนอกของสมาชิก
- เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกมีหนี้กับสหกรณ์เพียงแห่งเดียว
- ต้องเป็นสมาชิกและส่งเงินค่าหุ้นรายเดือนมามาแล้วไม่น้อยกว่า 60 เดือนติดต่อกัน
- ต้องเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการเคหะแห่งชาติ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว และไม่เคยลาออกจากกองทุน หรือเคยลาออกจากกองทุนแล้วกลับเข้าเป็นสมาชิกกองทุนใหม่
- สมาชิกที่มีภาระหนี้สินกับธนาคาร หรือ Non-Bank (Non-Bank หมายถึงผู้ให้บริการทางการเงิน ส่วนใหญ่เป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กำกับดูแล) ยกเว้นภาระหนี้สินเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
- สมาชิกที่มีภาระหนี้สินตามคำสั่งศาล หรือปลดหนี้สินจากการถูกบังคับคดี
- เพื่อชำระเงินกู้กองทุนสวัสดิการ การเคหะแห่งชาติ
- เพื่อชำระเงินกู้ฉุกเฉิน หรือเงินกู้สามัญหมุนเวียน
- กู้ได้ในวงเงินที่เป็นหนี้จริง แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท รวมเงินกู้ทุกประเภทที่มีอยู่ก่อนแล้วไม่เกิน 3,000,000 บาท ยกเว้น เงินกู้พิเศษ
- หลักประกันเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้แก่สมาชิกและดอกเบี้ย พ.ศ. 2557 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
- การคำนวณวงเงินค้ำประกัน ให้นำหนี้เดิม บวกกับหนี้ใหม่ได้เท่าไหร่ต้องมีผู้ค้ำประกันตามระเบียบ ข้อ 20.2.1 (1) – (4)
- ใบแจ้งยอดบัญชี / รายการชำระเงินงวดประจำเดือน
- หนังสือรับรองข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (บูโร)
- สมาชิกผู้กู้ส่งคืนเงินกู้ โดย (1) ส่งชำระแบบคงต้นพร้อมด้วยดอกเบี้ย (คงต้น) หรือ (2) ส่งคืนจำนวนเงินงวดเท่ากันทุกงวด (คงยอด)
- ส่งชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันเกษียณอายุ แต่ไม่เกิน 180 งวด
- ค่างวดที่หักรวมกับภาระหนี้สินอื่นแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 90 ของเงินเดือน
- สมาชิกจะเข้าร่วมโครงการเงินกู้สามัญเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต มิต้องนำประกาศฉบับที่ 5/2561 มาบังคับใช้
- สมาชิกที่เคยเข้าร่วมโครงการแล้วและผ่อนชำระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 24 งวด สามารถกู้ใหม่ได้
- เงื่อนไชอื่น ๆ เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้แก่สมาชิกและดอกเบี้ย พ.ศ. 2557 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ สส.ชสอ.
ลำดับ | รายการ | สรุปรวม (คน) | สมาชิก (คน) | สมาชิกสมทบ (คน) |
---|---|---|---|---|
สมาชิกต้นปี | 347 | 345 | 2 | |
1 | เพิ่มระหว่างปี | |||
- สมัครใหม่ | 11 | 11 | - | |
สมาชิกรวม | 358 | 356 | 2 | |
2 | ลดระหว่างปี | |||
- ลาออก | 5 | 5 | - | |
- ถึงแก่กรรม | 3 | 3 | - | |
สมาชิกคงเหลือ | 350 | 348 | 2 | |
ข้อมูล ณ วันที่ | 31 ธันวาคม 2565 |
สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ สสอร.
ลำดับ | รายการ | สรุปรวม (คน) | สมาชิก (คน) | สมาชิกสมทบ (คน) |
---|---|---|---|---|
สมาชิกต้นปี | 708 | 703 | 5 | |
1 | เพิ่มระหว่างปี | |||
- สมัครใหม่ | 5 | 5 | - | |
สมาชิกรวม | 713 | 708 | 5 | |
2 | ลดระหว่างปี | |||
- ลาออก | 16 | 16 | - | |
- ถึงแก่กรรม | 5 | 5 | - | |
สมาชิกคงเหลือ | 692 | 687 | 5 | |
ข้อมูล ณ วันที่ | 31 ธันวาคม 2565 |
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่สมาชิก |
||
ประเภท |
ร้อยละ(ต่อปี) |
หมายเหตุ |
เงินให้กู้ฉุกเฉิน |
6.00 |
|
เงินให้กู้สามัญ |
6.00 |
|
เงินให้กู้สามัญหมุนเวียน |
6.00 |
|
เงินให้กู้ค่าหุ้น |
6.00 |
|
เงินให้กู้สามัญเกษียณพร้อมสุข |
6.00 |
|
เงินให้กู้เพื่อการศึกษา |
5.50 |
ไม่มีเงินเฉลี่ยคืน |
เงินกู้เพื่อการท่องเที่ยว |
5.50 |
อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
อัตราดอกเบี้ยเงินรับฝาก |
||
ประเภท |
ร้อยละ (ต่อปี) |
หมายเหตุ |
ออมทรัพย์ | 1.25 | ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี |
ออมทรัพย์พิเศษ | 2.25 | |
ออมทรัพย์พิเศษเกษียณสุข | 3.60 | |
เงินรับฝากประจำ ระยะ 3 เดือน ระยะ 6 เดือน ระยะ 12 เดือน ระยะ 38 เดือน(ปิดรับฝากแล้ว) |
2.50 2.75 3.00 3.80 |
หักภาษีร้อยละ 15ของดอกเบี้ยที่ได้รับ |
เงินรับฝากประจำรายเดือน”อุดมทรัพย์” | 3.00 | ฝากครบตามเงื่อนไขไม่ต้องเสียภาษี |
เงินกู้สามัญเกษียณพร้อมสุข
6.00 %ต่อปีวัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากภาระหนี้สินของสมาชิก
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกมีหนี้กับสหกรณ์ที่เดียว
- เพื่อปลดเปลื้องหนี้สินหรือเพื่อใช้จ่ายในครอบครัว
คุณสมบัติของผู้กู้
- ต้องเป็นสมาชิกและส่งเงินค่าหุ้นรายเดือนมาแล้วไม่น้อยกว่าหกสิบเดือนติดต่อกัน และยังมีอายุการทำงานคงเหลือไม่เกิน 60 เดือน
- สมาชิกที่มีภาระหนี้สินกับธนาคาร หรือ Non-Bank (Non-Bank หมายถึงผู้ให้บริการทางการเงิน ส่วนใหญ่เป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กำกับดูแล) ยกเว้นภาระหนี้สินเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
- สมาชิกที่มีภาระหนี้สินตามคำสั่งศาล หรือหนี้สินจากการถูกบังคับคดี
- เพื่อชำระเงินกู้กองทุนสวัสดิการ การเคหะแห่งชาติ หรือเพื่อชำระเงินกู้ฉุกเฉิน หรือเงินกู้สามัญหมุนเวียน หรือค่าเบี้ยประกัน
- เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการเคหะแห่งชาติ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
วงเงินกู้และหลักประกัน
- วงเงินกู้ได้ในวงเงินที่เป็นหนี้จริง แต่ไม่เกินสิบสองเท่าของเงินเดือน
เอกสารประกอบคำขอกู้
- ใบแจ้งยอดบัญชี / รายการชำระเงินงวดประจำเดือน
- หนังสือรับรองข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (บูโร)
การชำระหนี้เงินกู้
- ผ่อนชำระไม่เกิน 60 งวด งวดหนึ่งเป็นเงินต้นไม่น้อยกว่า 1,000 บาท
- เงินงวดชำระหนี้เงินกู้ รวมกับหนี้สินอื่น ๆ ไม่เกินร้อยละเก้าสิบของเงินได้รายเดือน ณ วันที่เกษียณอายุงาน สมาชิกจะมีหนี้คงเหลือได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน และค่าชดเชย
เงื่อนไข
- สมาชิกผู้กู้จะต้องทำประกันชีวิตกลุ่มกับบริษัทประกันที่สหกรณ์จัดหาให้ โดยทุนประกันเท่ากับจำนวนเงินกู้ที่ได้รับ และมอบสหกรณ์เป็นผู้รับผลประโยชน์
- เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามระเบียบว่าด้วย การให้เงินกู้แก่สมาชิกและดอกเบี้ยเงินกู้ 2557 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ
2.25 %ต่อปี- เปิดบัญชีครั้งแรกต้องไม่น้อยกว่า 100.- บาท
- ฝาก – ถอน แต่ละครั้ง ต้องไม่น้อยกว่า 100.-บาท
- เงินฝากคงเหลือในบัญชี ตั้งแต่ 100,000.- บาท
สหกรณ์ฯ จะจ่ายดอกเบี้ยให้ทุกเดือน หากต่ำกว่า 100,000.- บาท ดอกเบี้ยจ่ายให้ปีละ 2 ครั้ง
(30 มิ.ย. และ 31 ธ.ค.) - การถอนเงินต้น ได้เดือนละหนึ่งครั้ง หากถอนมากกว่าหนึ่งครั้ง จะคิดค่าธรรมเนียม ในอัตราร้อยละหนึ่ง ของจำนวนเงินที่ถอน ค่าธรรมเนียมไม่น้อยกว่า 300.- บาท ไม่เกิน 1,000. – บาท
เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ ผู้ฝากรายหนึ่งอาจเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษได้โดยจำนวนเงินฝากในบัญชีนั้นในเวลาหนึ่งเวลาใดต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาท ฝากโดยหักจากเงินเดือนได้
การถอนเงินฝากออมทรัพย์พิเศษให้ถอนได้เดือนละหนึ่งครั้งโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมหากเดือนใดมีการถอนมากกว่าหนึ่งครั้ง สหกรณ์จะคิดค่าธรรมเนียมการถอนครั้งที่สองและครั้งต่อๆไปในอัตราร้อยละหนึ่งของจำนวนเงินที่ถอนแต่ต้องไม่น้อยกว่าสามร้อยบาท และอย่างมากไม่เกินหนึ่งพันบาท
สหกรณ์จะคำนวณดอกเบี้ยให้เป็นรายวันตามจำนวนต้นเงินฝากคงเหลือ ทั้งนี้จะต้องคงยอดเงินฝากถึงวันที่สหกรณ์จ่ายดอกเบี้ยและสหกรณ์จะนำดอกเบี้ยทบเป็นต้นเงินเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษให้ในวันที่ 30 มิถุนายน และวันที่ 31 ธันวาคม ของทุนปี ในกรณีที่จำนวนเงินฝากออมทรัพย์พิเศษคงเหลือตั้งแต่หนึ่งแสนบาท สหกรณ์จะนำดอกเบี้ยทบเป็นต้นเงินเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษให้ในวันสิ้นเดือน โดยสมาชิกขอถอนดอกเบี้ยที่ได้รับได้ในวันทำการถัดไป
เงินฝากออมทรัพย์
1.25 %ต่อปี- เปิดบัญชีครั้งแรกต้องไม่น้อยกว่า 100.- บาท
- ดอกเบี้ยจ่ายให้ปีละ 2 ครั้ง (30 มิ.ย. และ 31 ธ.ค.)
เงินฝากออมทรัพย์ ผู้ฝากรายหนึ่งอาจเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์โดยจำนวนเงินฝากในบัญชีนั้นในเวลาหนึ่งเวลาใดต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาท และผู้ฝากจะฝากเงินเพิ่มขึ้นเมื่อใดโดยจำนวนเท่าใดก็ได้
สมาชิกฝากเงินได้หลายวิธี เช่น ฝากเงินเป็นรายเดือน, เงินปันผล-เงินเฉลี่ยคืน,เงินสวัสดิการหรือเงินกู้สามัญที่ได้รับจากสหกรณ์
การถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ จะถอนเมื่อใด จำนวนเท่าใดก็ได้แต่การถอนเงินฝากออมทรัพย์ผ่านธนาคารโดยใช้เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM) สมาชิกต้องทำความตกลงกับสหกรณ์ก่อน และสหกรณ์ต้องนำรายการถอนเงินดังกล่าวที่ธนาคารออกให้เป็นหลักฐานการถอนเงินฝากออมทรัพย์ลงรายการในสมุดคู่ฝากสำหรับสมาชิกรายนั้นๆ
การถอนเงินฝากออมทรัพย์ผ่านธนาคารโดยใช้เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM) อนุญาตให้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น
สหกรณ์จะคำนวณจ่ายดอกเบี้ยทบต้นทุกวันที่ 30 มิถุนายน และวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี โดยสมาชิกขอถอนดอกเบี้ยที่ได้รับได้ในวันทำการถัดไป
เงินฝากประจำ
2.50 - 3.00 %ต่อปีฝากประจำ 3 เดือน 2.50%
ฝากประจำ 6 เดือน 2.75%
ฝากประจำ 12 เดือน 3.00%
- เปิดบัญชีครั้งแรกต้องไม่น้อยกว่า 500.- บาท และระยะเวลาฝากต้องไม่น้อยกว่า 3 เดือน
- ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ จะคำนวณและจ่ายเมื่อถึงกำหนดระยะเวลา
- ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ
- กรณีถอนก่อนกำหนด สหกรณ์ฯ จะจ่ายดอกเบี้ยให้ตามจำนวนเดือนเต็ม แต่ถ้าระยะเวลาฝากไม่ถึง 3 เดือน สหกรณ์ฯ จะไม่จ่ายดอกเบี้ย
เงินฝากประจำ ผู้ฝากรายหนึ่งอาจเปิดบัญชีเงินฝากประจำในสหกรณ์นี้ได้โดยจำนวนเงินฝากในบัญชีนั้นในเวลาหนึ่งเวลาใดต้องไม่น้อยกว่าห้าร้อยบาท และระยะเวลาฝากต้องไม่น้อยกว่าสามเดือน
ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ สหกรณ์จะคำนวณและจ่ายดอกเบี้ยให้เมื่อถึงกำหนดระยะเวลาการฝาก
สำหรับเงินฝากที่ถอนก่อนกำหนดสหกรณ์จะจ่ายดอกเบี้ยให้ตามจำนวนเดือนเต็ม
กรณีถอนเงินฝากประจำในระยะเวลาไม่ถึงสามเดือน สหกรณ์จะไม่จ่ายดอกเบี้ยให้
ถ้าผู้ฝากไม่ถอนเงินฝากประจำ เมื่อครบกำหนดพร้อมดอกเบี้ยจะพ้นกำหนดไปอีกเจ็ดวัน
ก็เป็นอันถือว่าผู้ฝากตกลงฝากต้นเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยต่อไปอีกเท่าระยะเวลาเดิม
เงินตอบแทนสมาชิกเกษียณ และเงินช่วยเหลือเกษียณสุข
เงินตอบแทนสมาชิกเกษียณอายุ หมายถึง เงินที่สหกรณ์จ่ายให้แก่สมาชิกผู้เกษียณอายุจากการทำงาน หรือเมื่อสมาชิกมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ การจ่ายเงินตอบแทนจะคำนวณจ่ายเงินตามระยะเวลาการเป็นสมาชิกจำนวนปีคูณด้วย 600.- บาท จำนวนเงินที่จ่ายตอบแทนนี้แต่ละรายต้องไม่น้อยกว่า 1,800.- บาท
เงินช่วยเหลือเกษียณสุข หมายถึง เงินที่สหกรณ์จ่ายให้แก่สมาชิกที่คงสภาพการเป็นสมาชิกอยู่จนอายุครบ
65 ปี , 70 ปี , 75 ปี , 80 ปี , 85 ปี , 90 ปี , 95 ปี และ 100 ปี การจ่ายเงินช่วยเหลือต้องเป็นสมาชิกติดต่อกันครบ 10 ปี ดังนี้
- อายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ ให้ได้รับเงิน 4,000.- บาท
- อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ ให้ได้รับเงิน 5,000.- บาท
- อายุครบ 75 ปีบริบูรณ์ ให้ได้รับเงิน 6,000.- บาท
- อายุครบ 80 ปีบริบูรณ์ ให้ได้รับเงิน 7,000.- บาท
- อายุครบ 85 ปีบริบูรณ์ ให้ได้รับเงิน 8,000.- บาท
- อายุครบ 90 ปีบริบูรณ์ ให้ได้รับเงิน 12,000.- บาท
- อายุครบ 95 ปีบริบูรณ์ ให้ได้รับเงิน 15,000.- บาท
- อายุครบ 100 ปีบริบูรณ์ ให้ได้รับเงิน 20,000.- บาท
เมื่อสมาชิกมีอายุครบตามข้างต้น สหกรณ์จะโอนเงินเข้าฝากบัญชีธนาคารกรุงไทย หรือบัญชีเงินฝากสหกรณ์ตามที่สมาชิกแจ้งความประสงค์ไว้ต่อสหกรณ์เท่านั้น
เงินกู้สามัญ
6.00 %ต่อปีการให้เงินกู้แก่สมาชิกนั้น จะให้ได้กรณีเพื่อการอันจำเป็นหรือมีประโยชน์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควร
แต่จะให้เงินกู้เพื่อการสุรุ่ยสุร่ายหรือการเก็งกำไรไม่ได้
วัตถุประสงค์
เพื่อการอันจำเป็นหรือมีประโยชน์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควร แต่จะให้เงินกู้เพื่อการสุรุ่ยสุร่ายหรือการเก็งกำไรไม่ได้
คุณสมบัติของผู้กู้
- สมาชิกที่มีสิทธิกู้เงินสามัญต้องส่งค่าหุ้นรายเดือนมาไม่น้อยกว่า 6 เดือนติดต่อกัน
- การให้เงินกู้แก่สมาชิกที่ออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพการเคหะแห่งชาติ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว และยังคงเป็นพนักงานการเคหะแห่งชาติ จะให้กู้ได้ภายในจำนวนไม่เกินร้อยละเก้าสิบของค่าหุ้นที่ตนถืออยู่ หรือกู้เงินพิเศษโดยมีอสังหาริมทรัพย์ของตนเองหรือคู่สมรสหรือบุตร อันปลอดจำนองภาระผูกพันรายอื่นเป็นประกันเงินกู้ก็ได้
วงเงินกู้
- การกู้เงินค่าหุ้นหรือเงินฝากของตนเองจะกู้ได้ภายในจำนวนไม่เกินร้อยละเก้าสิบ
- วงเงินกู้สามัญสูงสุดไม่เกิน 3,000,000 บาท หรือ 60 เท่าของเงินได้รายเดือนของสมาชิกนั้น สุดแต่จำนวนไหนน้อยกว่า
โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
อายุสมาชิก | วงเงินกู้ (บาท) | จำนวนเท่า | สัดส่วนการถือหุ้น | ผ่อนชำระ |
(เดือน) | ของเงินเดือน | ต่อเงินกู้ (%) | (เดือน) | |
ตั้งแต่ 6-12 | 180,000.00 | 15 | 10 | 80 |
13-24 | 250,000.00 | 20 | 12 | 108 |
25-48 | 400,000.00 | 30 | 15 | 144 |
49-72 | 600,000.00 | 40 | 20 | 162 |
73-96 | 1,200,000.00 | 50 | 25 | 172 |
97-120 | 2,000,000.00 | 60 | 27 | 180 |
120 ขึ้นไป | 3,000,000.00 | 60 | 30 | 180 |
การส่งเงินงวดชำระหนี้ หมายเหตุ วงเงินกู้สามัญตามตารางนี้ถือใช้กับเงินกู้สามัญทั่วไปเท่านั้น ในกรณีสมาชิกผู้กู้เงินสามัญหรือกู้เงินพิเศษ มีความประสงค์
ขอขยายระยะเวลาชำระหนี้ออกไป สามารถขยายเวลาการส่งเงินงวดชำระหนี้หลังจากเกษียณได้อีกไม่เกิน 72 งวด ทั้งนี้ สามารถขยายเวลาได้เพียงเงินกู้ประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น
- สมาชิกต้องชำระให้เสร็จสิ้นไม่เกิน 180 งวด สมาชิกผู้กู้อาจขอชำระหนี้แบบใดแบบหนึ่ง คือ
(1) ส่งต้นเงินกู้สามัญเท่ากันทุกงวดและดอกเบี้ยคิดจากต้นเงินแห่งหนี้คงเหลือแต่ละงวด
(2) ส่งคืนจำนวนเงินเท่ากันทุกงวดโดยจะหักเงินส่วนหนึ่งเป็นดอกเบี้ยก่อนส่วนที่เหลือจึงนำไปหักต้นเงิน
- การส่งเงินงวดชำระหนี้เงินกู้งวดหนึ่งหากรวมกันกับหนี้สินอื่นๆ ที่ผู้กู้จะต้องผ่อนชำระโดยวิธีหักเงินได้รายเดือนแล้วต้องไม่เกิน
ร้อยละ 90 ของเงินได้รายเดือน
หลักประกัน
- ทุนเรือนหุ้นหรือบัญชีเงินฝากไม่เกินร้อยละ 90
- สมาชิกเป็นผู้ค้ำประกัน มีเงื่อนไขดังนี้
- สมาชิกผู้กู้เงินกู้สามัญจำนวนไม่เกินกว่า 120,000 บาท ต้องมีผู้ค้ำประกันอย่างน้อย 1 คน
- สมาชิกผู้กู้เงินกู้สามัญจำนวนเกินกว่า 120,000 บาท ต้องมีผู้ค้ำประกันอย่างน้อย 2 คน
- สมาชิกผู้กู้เงินกู้สามัญจำนวนเกินกว่า 400,000 บาท ต้องมีผู้ค้ำประกันอย่างน้อย 3 คน
- สมาชิกผู้กู้เงินกู้สามัญจำนวนเกินกว่า 2,000,000 บาท ต้องมีผู้ค้ำประกันอย่างน้อย 4 คน
- สมาชิกที่มีสิทธิค้ำประกันต้องส่งค่าหุ้นรายเดือนมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนติดต่อกัน และมิได้เป็นคู่สมรสของผู้กู้ ผู้ค้ำประกันคนหนึ่งจะเป็นผู้ค้ำประกันสำหรับผู้กู้มากกว่า 4 คนในเวลาเดียวกันไม่ได้
เงินกู้พิเศษ ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
6.00 %ต่อปีคุณสมบัติของผู้กู้ สมาชิกที่มีสิทธิกู้เงินกู้พิเศษต้องส่งค่าหุ้นรายเดือนมาแล้วไม่น้อยกว่าสามเดือนติดต่อกัน
วัตถุประสงค์ เงินกู้พิเศษเพื่อการเคหะสงเคราะห์,เพื่อยานพาหนะ,เพื่อการลงทุนประกอบอาชีพ
วงเงินกู้/การผ่อนชำระ ไม่เกิน 5,000,000 บาท ผ่อนชำระได้ไม่เกิน 300 งวด
หลักประกัน
- อสังหาริมทรัพย์อันปลอดภาระผูกพันรายอื่นจำนองเป็นประกัน โดยจำนวนเงินกู้ไม่เกินราคาประเมินตามทรัพย์ที่นำมาเป็นประกัน คือ
(1) ที่ดินและบ้าน ร้อยละ 85 ของราคาประเมิน
(2) ที่ดิน ร้อยละ 75 ของราคาประเมิน
(3) อาคารชุดร้อยละ 70 ยกเว้น อาคารชุดของการเคหะแห่งชาติร้อยละ 80 ของราคาประเมิน - หลักทรัพย์รัฐบาล หรือบัญชีเงินฝากกับสหกรณ์หรือทุนเรือน จำนวนเงินกู้ต้องอยู่ภายในร้อยละ 90 แห่งมูลค่าของหลักทรัพย์
- สมาชิกขอกู้เงินครั้งใหม่ไม่เกินวงเงินกู้เดิม โดยใช้อสังหาริมทรัพย์เดิมจำนองเป็นประกันเงินกู้ก็ให้ใช้ราคาประเมินตามที่บริษัทประเมินราคาไว้ก็ไม่ต้องประเมินราคาใหม่แต่ต้องไม่เกินสี่ปี
เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน
6.00 %ต่อปีคุณสมบัติของผู้กู้ สมาชิกที่มีสิทธิกู้เงินฉุกเฉินต้องส่งค่าหุ้นรายเดือนมาไม่น้อยกว่า 3 เดือนติดต่อกัน
วงเงินกู้/การผ่อนชำระหนี้ สมาชิกผู้กู้คนหนึ่งๆ ให้มีจำนวนไม่เกิน 120,000 บาท หรือสองเท่าของเงินได้รายเดือนของสมาชิกนั้นสุดแต่จำนวนไหนน้อยกว่า ผ่อนชำระหนี้ได้ไม่เกิน 12 งวด การชำระงวดหนึ่งรวมกับภาระอื่น ๆ แล้วต้องไม่เกินร้อยละ 90 ของเงินเดือน
เงินฝากออมทรัพย์พิเศษเกษียณสุข
3.15 %ต่อปี
สมาชิกประสงค์จะเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษเกษียณสุข ต้องยื่นหนังสือขอเปิดบัญชีดำเนินการให้เสร็จในเดือนตุลาคมของแต่ละปี หรือตามที่คณะกรรมการดำเนินการจะได้กำหนดเป็นคราว ๆ ไป โดยชื่อผู้ฝากกับชื่อผู้มีอำนาจถอน หรือผู้มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยเงินฝากต้องเป็นบุคคลเดียวกัน สหกรณ์จะจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์พิเศษเกษียณสุข ตามอัตราที่คณะกรรมการดำเนินงานสหกรณ์กำหนดโดยออกประกาศเป็นคราว ๆ แต่ทั้งนี้จะไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่นายทะเบียนสหกรณ์ให้ความเห็นชอบที่สหกรณ์พึงจะจ่ายได้
การจ่ายดอกเบี้ยสหกรณ์จะคิดให้เป็นรายวันตามจำนวนเงินต้นคงเหลือและสหกรณ์จะคิดดอกเบี้ยจ่ายสมาชิกผู้ฝากเงินทุกวันที่ 31 มีนาคม, 30 มิถุนายน, 30 กันยายน และ 31 ธันวาคม ของทุกปี โดยจะโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของสมาชิก โดยสมาชิกขอถอนดอกเบี้ยที่ได้รับได้ในวันทำการถัดไป
การถอนเงินฝากสมาชิกสามารถถอนเงินได้เมื่อทวงถาม การถอนเงินฝากออมทรัพย์พิเศษเกษียณสุขให้ถอนได้เดือนละหนึ่งครั้ง โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม หากเดือนใดมีการถอนเงินมากกว่าหนึ่งครั้งสหกรณ์จะคิดค่าธรรมเนียมการถอนเงินครั้งที่สองและครั้งต่อ ๆ ไปในอัตราร้อยละหนึ่งของจำนวนเงินที่ถอนแต่ต้องไม่ต่ำกว่าห้าร้อยบาท
* ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
เงินฝากรายเดือนปลอดภาษี “อุดมทรัพย์”
3.00 %ต่อปี- อัตราดอกเบี้ย ประกาศเป็นคราว ๆ ไป
- ฝากรายเดือนเริ่มต้น 1,000 – 25,000 บาท เท่ากันทุกเดือน 24 เดือน
สมาชิกขอเปิดบัญชีครั้งแรกต้องไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท โดยต้องฝากติดต่อกันทุกเดือน ๆ ละเท่าๆ กัน และเท่ากับที่เปิดบัญชีครั้งแรกเป็นระยะเวลา 24 เดือน และรวมทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 600,000 บาท จึงจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากรายเดือนปลอดภาษี “อุดมทรัพย์”
ในการฝากเงินเข้าบัญชีเงินฝากรายเดือนปลอดภาษี “อุดมทรัพย์” สามารถนำฝากได้ ดังนี้
- ฝากด้วยตนเอง
- สมาชิกทำหนังสือยินยอมให้สหกรณ์หักเงินจากบัญชีเงินเดือนของสมาชิกในวันที่การเคหะแห่งชาติได้จ่ายเงินเดือนทุกเดือน
กรณีสมาชิกไม่สามารถฝากเงินดังกล่าวนี้ได้ในเดือนใด ต้องนำฝากในเดือนถัดไปทันทีรวม 2 เดือน
สหกรณ์จะคิดดอกเบี้ยเงินฝากรายเดือนปลอดภาษี โดยจะคิดดอกเบี้ยให้ทุกยอดเงินฝากที่ฝากถึงวันครบกำหนด (24 เดือน) เมื่อครบกำหนดสหกรณ์จะคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยให้กับสมาชิก และปิดบัญชีเงินฝากรายเดือนปลอดภาษี แล้วโอนเงินฝากดังกล่าวเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของสมาชิก
กรณีที่สมาชิกผู้ฝากมีเหตุไม่สามารถปฏิบัติได้ตามเงื่อนไข หรือฝากต่อไปไม่ได้ สหกรณ์จะคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราเงินฝากออมทรัพย์ ณ วันที่ผิดเงื่อนไข รวมทั้งปิดบัญชีและนำเงินฝากดังกล่าวเข้าบัญชีออมทรัพย์ของสมาชิก
สวัสดิการรักษาพยาบาล
เพื่อเป็นสวัสดิการรักษาพยาบาลเจ็บป่วยกรณีเข้ารับรักษาตัวเป็นคนไข้ในสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลของกรุงเทพมหานคร หรือสถานพยาบาลอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนด หรือสถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินยี่สิบห้าเตียง
การเบิกรับเงินค่ารักษาเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นคนไข้ในไม่น้อยกว่า 1 คืน ในอัตราคืนละ 300 บาท ครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,500 บาท ในหนึ่งปีทางบัญชีเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม สามารถเบิกได้ไม่เกิน 3 ครั้ง
ขอรับเงินภายในกำหนด 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ออกจากสถานพยาบาล หากพ้นกำหนดให้ถือว่าสละสิทธิ์ในการขอรับเงินสวัสดิการรักษาพยาบาลครั้งดังกล่าว
เอกสาร
- แบบคำขอรับเงินสวัสดิการ
- สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรพนักงานการเคหะแห่งชาติ
- สำเนาใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล โดยขอให้นำใบเสร็จฉบับจริงมาแสดงด้วย
- หนังสือรับรองเป็นคนไข้ในจากสถานพยาบาล
ทุนส่งเสริมเพื่อการศึกษา
ทุนส่งเสริมเพื่อการศึกษา สหกรณ์สนับสนุนเงินทุนเพื่อส่งเสริมการศึกษาให้กับกองทุนสวัสดิการ การเคหะแห่งชาติ เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่บุตรของพนักงานการเคหะแห่งชาติ
เงินช่วยเหลือสมาชิกเนื่องจากเสียชีวิต
การนับอายุการเป็นสมาชิกเพื่อรับเงินต้องเป็นสมาชิกติดต่อกันเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป ให้นับเป็น 1 ปี
เงินสงเคราะห์ที่ได้รับ
- พวงหรีดเคารพศพ 800 บาท และค่าจัดการศพเบื้องต้น จำนวน 12,000 บาท
- เงินช่วยเหลือตามระยะเวลาการเป็นสมาชิกตามจำนวนปีที่เป็นสมาชิก ปีละ 5,000 บาท แต่ไม่น้อยกว่า 12,000 บาท
- กรณีประสบอุบัติเหตุ หลังจากเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 30 วัน ช่วยเหลือเพิ่ม จำนวน 100,000 บาท
เอกสารประกอบการขอรับเงิน ผู้รับผลประโยชน์ ยื่นขอรับเงินสงเคราะห์พร้อมหลักฐานภายใน 120 วัน นับแต่วันถึงแก่กรรม ดังนี้
สมาชิกผู้เสียชีวิต สำเนาใบมรณะบัตร/สำเนาบัตรประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้าน(ฉบับที่ส่วนราชการประทับตรา “ตาย”
ผู้รับผลประโยชน์ สำเนาบัตรประชาชน / บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ / สำเนาทะเบียนบ้าน / สำเนาใบสมรส / สำเนาใบเปลี่ยนชื่อสกุล
เงินช่วยเหลือบุคคลในครอบครัวถึงแก่กรรม
การนับอายุการเป็นสมาชิกเพื่อรับเงินต้องเป็นสมาชิกติดต่อกันเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป ให้นับเป็น 1 ปี
บุคคลในครอบครัว หมายถึง
- บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของสมาชิก แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่นแล้ว
- คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของสมาชิก
- บิดา มารดาของสมาชิก
เงินสงเคราะห์ที่ได้รับ
- ค่าจัดการศพเบื้องต้น จำนวน 5,000 บาท
- เงินช่วยเหลือตามระยะเวลาการเป็นสมาชิกตามจำนวนปีที่เป็นสมาชิก ปีละ 700 บาท
เอกสารประกอบการขอรับเงิน สมาชิกยื่นขอรับเงินสงเคราะห์พร้อมหลักฐานภายใน 120 วัน นับแต่วันถึงแก่กรรม ดังนี้
ผู้เสียชีวิต สำเนาใบมรณะบัตร/สำเนาบัตรประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้าน(ฉบับที่ส่วนราชการประทับตรา “ตาย”
สมาชิก สำเนาบัตรประชาชน / บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ / สำเนาทะเบียนบ้าน / สำเนาใบสมรส / สำเนาใบเปลี่ยนชื่อสกุล
ทุนสงเคราะห์อันเกิดจากภัยพิบัติต่าง ๆ
- จ่ายให้กับสมาชิกที่ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ *อัคคีภัย *อุทกภัย *วาตภัย
- แสดงหลักฐาน เหตุผล รูปแบบ รายการให้ชัดเจน
- นำเสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
เงินกู้สามัญหมุนเวียน
6.00 %ต่อปีคุณสมบัติของผู้กู้ สมาชิกที่มีสิทธิเงินกู้สามัญหมุนเวียน ต้องส่งเงินค่าหุ้นรายเดือนมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือนติดต่อกัน
วงเงินกู้ เงินกู้สามัญหมุนเวียนที่ให้แก่สมาชิกผู้กู้คนหนึ่งๆ นั้น ให้มีจำนวนไม่เกิน 120,000 บาท หรือสองเท่าของเงินได้รายเดือนของสมาชิกนั้นสุดแต่จำนวนไหนน้อยกว่า
การเบิกเงินกู้ สมาชิกผู้กู้ขอรับเงินกู้วิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
- การเบิกเงินกู้ผ่านช่องทางอีเล็กทรอนิกส์เครือข่ายตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย
- รับเงินกู้ ณ สำนักงานสหกรณ์
หลักประกัน สมาชิกผู้กู้มีเงินค่าหุ้นน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของวงเงินกู้จะต้องมีผู้ค้ำประกันอย่างน้อยหนึ่งคน
การส่งเงินงวดชำระหนี้
- ส่งคืนเงินกู้เป็นงวดรายเดือนเท่ากันพร้อมดอกเบี้ยเป็นจำนวนไม่เกิน 24 งวด
- การส่งเงินงวดชำระหนี้เงินกู้งวดหนึ่งหากรวมกันกับหนี้สินอื่นๆ ที่ผู้กู้จะต้องผ่อนชำระโดยวิธีหักเงินได้รายเดือนแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 90 ของเงินได้รายเดือน
โอนเงินผ่านธนาคารพาณิชย์
ธนาคาร | สาขา | เลขที่บัญชี |
---|---|---|
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) | สาขา การเคหะแห่งชาติ | 095-1-00100-0 |
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) | สาขา ลาดพร้าว | 011-1-12811-0 |
หมายเหตุ
*เปิดให้บริการ ฝาก-ถอน ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ถึง 15.00 น. *
**ฝากเช็คหลังเวลา 12.00 น. ถือเป็นฝากในวันทำการถัดไป **
***อัตราดอกเบี้ยอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยจะประกาศให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป***